วันที่ 16 พ.ค. 2566 พ.ต.ท. วิฑูรย์ หรือ รองอ็อฟ อดีตรองผู้กำกับการสอบสวน สภ.สวนผึ้ง อดีตสามีแอม ผู้ต้องหา เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหา ทำลายพยานหลักฐาน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 184 ที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 โดยระหว่างที่ตำรวจพาตัวไปสอบปากคำคำพูดจาก เกมสล็อตมาใหม่
ผู้สื่อข่าวพยายามถามคำถาม ถึงความกังวลในข้อหาที่ถูกแจ้ง และได้มีการพูดคุยอะไรกับ แอม ระหว่างที่เดินทางเข้าไปพบในเรือนจำหรือไม่ แต่ รองอ๊อฟ ไม่ได้ให้สัมภาษณ์ใดๆ กับสื่อมวลชน
ยาต้านพิษไซยาไนด์“โซเดียมไทโอซัลเฟต”วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
“ไซยาไนด์” ในมันสำปะหลัง-หน่อไม้สด อันตรายหรือไม่?
ข้อหาของ รองอ็อฟ สืบเนื่องจาก ตำรวจพบว่า รองอ็อฟ มีพฤติกรรมการช่วยเหลือ การนำกระเป๋าของ น.ส.ศิริพร ขันวงษ์ หรือ ก้อย เท้าแชร์จังหวัดราชบุรีไปซ่อน และส่งต่อไปหลายพื้นที่ ก่อนสุดท้ายจะถูกส่งไปที่คอนโดมิเนียมของเพื่อนแอม ที่จังหวัดเพชรบุรี
ขณะที่ รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อาจารย์อ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เดินทางมารายงาน ผลการตรวจสอบสารเคมีจากวัตถุพยาน 296 รายการ ที่ตำรวจตรวจยึดได้ และส่งมาให้ตรวจสอบ 18 ครั้ง
เบื้องต้น หลักฐานสามารถชี้ชัดว่า มีไซยาไนด์ปะปนอยู่ ซึ่งสั่งซื้อมาแบบเฉพาะเจาะจง ลักษณะเป็นเกล็ดคล้ายเกลือ เป็นสารพิษที่ดูดซึมเข้าร่างกายได้ และทำให้เสียชีวิตได้รวดเร็วภายใน 1-2 นาที
ส่วนความเชื่อมโยงกับน.ส.แอมจากการสืบสวนเชื่อได้ว่า ผู้ต้องหา มีความรู้ รวมถึงมีคนคอยให้คำแนะนำเรื่องการต่อสู้คดี
ส่วนคำให้การที่ แอม อ้างว่า นำไซยาไนด์ไปให้ก้อย เหยื่อที่เสียชีวิต เพื่อใช้ผสมเป็นยาเสพติดเสพ อาจารย์อ๊อด ยืนยันว่า ไซยาไนด์ไม่สามารถผสมเป็นยาเสพย์ติดเสพได้ด้วยตัวเอง หากจะมีการผสม ต้องผ่านกระบวนการทางเคมี ซึ่งคนทำจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ และในประเทศยังไม่มีการทำ มองว่าคำสารภาพของ แอม เป็นเพียงแค่การเบี่ยงประเด็น
ซึ่งตรงกับข้อมูลของตำรวจปราบปรามยาเสพติด ระบุว่า ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา การจับผู้ต้องหาคดียาเสพติด รวมทั้งการตรวจยึดส่วนผสมของแหล่งผลิตทั้งยาบ้า เฮโรอีนและไอซ์ ยังไม่เคยพบว่ามีไซยาไนด์ เป็นส่วนผสมกับยาเสพติด ที่เคยตรวจยึดได้ พบในยาบ้าที่มีส่วนผสมกับยาฆ่าแมลง
ซึ่งสารไซยาไนด์ ถือว่าเป็นสารพิษมีความอันตรายจึงไม่มีเหตุผลที่จะนำมาผสมกับสารเสพติด